โปรโมทเว็บไซต์คุณกับแอดยิ้มวันนี้ กระจายโฆษณาของคุณ สู่เว็บไซต์คุณภาพ

บทความล่าสุด

แนะนำรถยนต์ ดูแลรถ ซ่อมรถ อะไหล่รถยนต์ ประกัน

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นโยบายรัฐแลกเปลี่ยนลดหย่อนภาษีประกัน

สรรพากรได้ฤกษ์ยอมไฟเขียวประกันชีวิตขายกรมธรรม์ TAX ตามเงื่อนไขใหม่ที่กำหนด ขณะที่ผู้เอาประกันเศร้าถูกเฉือนวงเงินใช้สิทธิ์หักลดหย่อนภาษี 1 แสนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อสรรพากรระบุอ้างกฎหมายให้ได้เฉพาะประกันชีวิตเท่านั้น แม้ทั้ง 2 สมาคมประกันฯ ยอมเสี่ยงขาดทุน เสนอแพ็กเกจใหม่ต่อรองก็ไม่เป็นผล ทั้งๆ ที่เอกชนยอมยืดขายความคุ้มครองประกันสุขภาพยาวออกไปเป็น 5 ปี ยัน 10 ปี แทนที่ปัจจุบันจะคุ้มครองปีต่อปีแล้วเลิกสัญญาทันที เมื่อเกิดโรคร้ายกลางคัน

หลังจากกรมสรรพากรดองเรื่องอยู่นานกับการ พิจารณาทบทวนเพื่อหาหลักเกณฑ์ใหม่สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตบางแบบที่ผู้เอา ประกันไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ 100,000 บาท ภายหลังจากเกิดปัญหาบางบริษัทประกันชีวิตหัวใสใช้วงเงินหักลดหย่อนภาษีดัง กล่าวเป็นช่องทางตลาดทำมาหากินในทางผิดหลักการกรมสรรพากรนั้น ในที่สุดกรมสรรพากรก็ได้ข้อยุติในหลักการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากเมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา นายสาธิต รังคสิริ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพากรได้เรียกประชุมร่วมกับผู้แทนจากคณะกรรมการบริหารสมาคม ประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัย กระทั่งได้ข้อสรุปเห็นชอบร่วมกันที่จะใช้หลักเกณฑ์ใหม่เพื่อกำหนดทิศทางให้ บริษัทประกันภัยขายกรมธรรม์ประเภทใดที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้

ต่อ เรื่องนี้ นายสาธิต รังคสิริ โฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการพูดคุยกับภาคเอกชนทั้งสองสมาคมฯ ได้มีข้อสรุปเห็นชอบร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตที่จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ต้องเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครองยาว 10 ปีขึ้นไป และเป็นกรมธรรม์ที่มีการจ่ายเงินคืนผลประโยชน์ตอบแทนระหว่างปีกรมธรรม์ ประกันภัย (Cash Bonus) เฉลี่ยไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันรายปี หากไม่มีการจ่ายเงินคืนในปีใด สามารถนำผลตอบแทนดังกล่าวมาสะสมยอดเพื่อจ่ายในปีต่อไปได้ แต่ไม่เกิน 10 ปี

สำหรับ กรณีเบี้ยประกันจากสัญญาแนบท้ายกรมธรรม์ หรือเบี้ยจากส่วนของอนุสัญญาเพิ่มเติม (Rider) นั้นจะต้องมีการแยกบัญชีออกมาอย่างชัดเจน โดยกรมสรรพากรจะไม่อนุญาตให้นำส่วนนี้มาใช้ในการหักลดหย่อนภาษีได้ โดยบริษัทประกันชีวิตจะต้องแยกออกมาให้ชัดเจนว่าเป็นส่วนของเบี้ยประกัน ชีวิตเท่าไหร่ และเป็นของสัญญาแนบท้ายหรืออนุสัญญาที่เกี่ยวกับประกันสุขภาพหรือพีเอเท่าใด เพื่อให้ทราบว่าผู้เอาประกันจะสามารถนำกรมธรรม์หลักมาใช้หักลดหย่อนภาษี เท่าใด โดยหลักเกณฑ์นี้คงจะไม่มีผลให้เรียกภาษีย้อนหลังคืนกับผู้ที่ทำประกันที่ได้ รับการหักลดหย่อนภาษีไปแล้ว แต่จะมีผลปฏิบัติทันทีที่ประกาศใช้ และกรมธรรม์รายใหม่ที่ผู้เอาประกันซื้อ

ทั้งนี้ข้อสรุปดังกล่าวคงจะนำเสนอให้ท่านอธิบดีกรมสรรพากรรับทราบและลงนามก่อนประกาศใช้ต่อไป

นาย สาธิต ยังกล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยจะต่อรองขยายวงเงิน คุ้มครองประกันสุขภาพให้ยาวออกไปเป็น 5 ปี หรือ 10 ปี เพื่อเป็นเงื่อนไขมาแลกกับการขอสิทธิ์ในการหักลดหย่อนภาษีนั้นคงไม่สามารถ กระทำได้ แม้จะส่งผลดีต่อผู้เอาประกันได้รับประโยชน์ อีกทั้งเป็นการกระตุ้นการทำประกันชีวิตก็ตามที ทั้งนี้ เนื่องจากในหลักกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตเท่านั้นที่จะสามารถนำมาใช้หักลดหย่อนภาษีได้ตามกฎหมาย ส่วนการประกันสุขภาพไม่เข้าข่ายได้รับสิทธิ์นี้

แหล่งข่าวจากสำนัก งานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบการธุรกิจประกันภัย กล่าวว่า ทาง คปภ.และผู้แทนสมาคมฯ ได้พยายามอย่างเต็มที่ในการชี้แจงทำความเข้าใจให้กับทางกรมสรรพากรรับทราบ แล้ว แต่ทางกรมสรรพากรยังยืนกรานออกมาอย่างนี้ก็คงช่วยไม่ได้ ทั้งๆ ที่บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยยอมเสี่ยงขาดทุน เพื่อขยายระยะเวลาของอนุสัญญาหรือสัญญาแนบท้าย หรือกรมธรรม์ประกันสุขภาพให้คุ้มครองยาวขึ้นแล้วก็ตาม ซึ่งปกติแล้วการประกันสุขภาพจะมีเงื่อนไขคุ้มครองเพียงปีต่อปี หากลูกค้าเกิดเหตุล้มป่วยด้วยโรคร้ายแรงใดก็ตาม บริษัทประกันชีวิตย่อมสามารถหยุดรับประกันต่อ โดยรักษาผู้เอาประกันจนครบสัญญาหนึ่งปีย่อมสามารถบอกเลิกสัญญาได้

ที่มาของข่าว :: นสพ.เส้นทางนักขาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น